วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ ปี 2555



วัตถุประสงค์

1.ให้โอกาสนักเรียนตาบอดซึ่งอยู่ในภูมิภาค ได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการถ่ายภาพ
เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสังคม
2.สร้างความความตระหนักในการเห็นคุณค่าของตนเอง และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน
ให้กับนักเรียนตาบอดที่เข้าร่วมโครงการ
3.จุดประกายการสร้างเสริมความดีให้กับสังคม ภายใต้แนวคิด “คนด้อยโอกาสใช่จะต้องไร้โอกาส”
4.สนับสนุนให้ผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสทำความดีเพื่อสังคม ผ่านการเป็นครูอาสาสอนน้องนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ

รูปแบบของกิจกรรม

1.สอนการถ่ายภาพขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยวิทยาการวิทยาศาสต์การถ่ายภาพมาประยุกตใช้ให ้เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตา
ในหลักสูตร 2 วัน โดยใช้ครูอาสา 1-2 คนต่อนักเรียนตาบอด 1 คน และอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพ 1 ตัว
2.สอนการถ่ายภาพขั้นกลาง เพื่อให้นักเรียนตาบอดที่ผ่านการเรียนขั้นพื้นฐาน สามารถถ่ายรูปทำบัตรอวยพร
และนำมาเขียนบทความเพื่อสื่อสารกับสังคม ในหลักสูตร 1 วัน
3.อบรมครูอาสาสอนถ่ายภาพให้นักเรียนตาบอด ในหลักสูตร 1 วัน
4.จัดทำเว็บบอร์ด และบล็อก เพื่อเผยแพร่กิจกรรม องค์ความรู้ในการสอน
5.จัดทำสมุดภาพถ่ายผลงานของนักเรียนตาบอด ให้กับนักเรียนตาบอดทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม

ความสามารถของกิจกรรมในการสอนและอบรม

1.สอนนักเรียนตาบอดในหลักสูตรพื้นฐานได้ครั้งละ 10-12 คน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วม 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ครั้ง
2.สอนนักเรียนตาบอดในหลักสูตรขั้นกลาง ได้ครั้งละ 5-8 คน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ครั้ง
3.อบรมครูอาสาเพื่อสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ ได้ครั้งละ 20-30 คน โดยจะเปิดอบรมทั้งหมด 3 ครั้ง

กำหนดการสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ และโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

26-27 พฤษภาคม 2555 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา
149 หมู่6 ซอยวัชรปาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 เข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะหลักสูตรพื้นฐาน

9-10 มิถุนายน 2555 โรงเรียนธรรมิกวิทยา (สอนคนตาบอด)
128 หมู่1 ตำบลสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
โทรศัพท์ 032-561603
เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรขั้นกลาง

14-15 กรกฎาคม 2555 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน
3 หมู่11 บ้านดงจำปา ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี 15000 โทรศัพท์ 036-499480
เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรขั้นกลาง

28-29 กรกฎาคม 2555 โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา
285/103 ม.5 ซ.16 ถ.พัทยานาเกลือ ต.นาเกลือ อ.บางละมุง
จ.ชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 038225479 , 038225963
เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรขั้นกลาง

2-3 สิงหาคม 2555 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุาษฎร์ธานี
224 หมู่4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี 84100
โทรศัพท์ 0-7721-1493 โทรสาร 0-7721-1494, 081-5386991
เข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะหลักสูตรพื้นฐาน

กำหนดการอบรมครูอาสาสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ

ครั้งที่ 1 13 พฤษภาคม 2555 10.00 -17.00 เปิดอบรม 30 คน
สถานที่ ห้องมินิเธียเตอร์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park
         ** ชมภาพกิจกรรมได้ที่  http://www.pict4all.com
ครั้งที่ 2 20 พฤษภาคม 2555 10.00 -17.00 เปิดอบรม 20 คน
สถานที่ ห้องมินิเธียเตอร์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park

ครั้งที่ 3 ยังไม่กำหนดวันที่ และสถานที่


รายชื่อผู้ที่ได้ตอบกลับยืนยัน เข้าร่วมอบรมเป็น "ครูอาสา" สอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ
13 พฤษภาคม 2555 10.00 - 16.30 น.
TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ห้องมินิเธียเตอร์

1. ปัณณทัต ชัยวุฒิโชติ
2. รำไพ วัชรปาน
3. Nham Nirvana
4. อาภรณ์ หนูแย้ม
5. นิรุธ สุขพูล
6. นพดล เฮงศรีธวัช
7. นทิตา โพธิ์ดี
8. น้ำ
9. ธนกร ศิริพัฒนศักดิ์
10. อุษณี สีตวรรณมาศ
11. นันทวัฒน์ สกุณวัฒน์
12. Natachai Srisuwong
13. Patcharata Poung
14. รุ่งนภา แจ่มแสง
15. เมธารัต เลิศอนันตชัย
16. จิระภาคย์ อรุณไพศาลสิน
17. Jirakom Bunjaswong
18. พี่ปุ๋ย
19. นวรัตน์ ทองประสพ
20. Pattrawan
21. ประภาศรี (ฮั้ว)
22. รมิตา สอนพรม
23. Supansa Laymake
24. Mortoy Noynoi
25. ธนนา สภารักษ์ปัญญา
26. สินีนาถ ดิลกนิทัศน์
27. คุณสตรอ
28. ประภาพร รุ่งขจรวงศ์
29. พักตร์วิภา หน่อสุวรรณ
30. ปรวรรณ อ่ำช่วย
31. ญาติกา เอกวัฒนพันธ์
32. Mint
33. บุษบา เซ็นสาส์น
34.ศิริพร บุญยัง
35. กมล สุกาญจนัจที
36. คุณหญิง Canon
37. คุณเกด Canon
38. สุวิมล ม่วงมีค่า
39. ประภาพร รุ่งขจรวงศ์
40. นายกำ
41. วิชชุดา
42. สุณิษา วงษ์จีรัง
43. คุณหลิน (Radee Phaerakkakit)
44. คุณรุ่งนภา
45. เอมี่ มารี
46. Prim Piyachon
47. Joe Young
48. คุณพัชรากร
49. เพื่อนของโฮ๋(สต๊าฟ)
50. เพีื่อนของโอ๋(สต๊าฟ)




รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมเป็น "ครูอาสา" สอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ 
รุ่น 2/2555 20 พฤษภาคม 2555


1.กนกวรา พวงประยงค์
2.ณิชาณี วงษ์บา 

3.สินี เหิรอดิศํย 

4.อรวีร์ กวินสุพร

5.พีร์ ศรีสุวรรณ

6.ศุภวรรณ เวชปาน

7.มณฑาทิพย์ แซ่ปู้

8. เจนวิทย์ ธนังเลิศมาลัย

9. อรนุช แสงเทียนชัย

10. ฉัตรเลขา กล่ำเรือง

11. รมิดา สอนพรม

12. เนตรนภา โฆษวณิชการ

13. ธนกร ศิริพัฒนศักดิ์

14. ปัณพร หลิมอัคระ

15. อารียา สุปราณี

16. ณิศรา ศรีพลอยรุ่ง 
17.วัชรี ตีทอง
18. นางสาวพักตร์วิภา หน่อสุวรรณ
19.นางสาวปรวรรณ อ่ำช่วย
20.นางสาวญาติกา เอกวัฒนพันธ์
       
กำหนดการ "อบรมครูอาสา เพื่อสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ"
10.00 – 10.15    แนะนำโครงการสอนนักเรียนตาบอดถ่ายภาพ และการมีส่วนร่วมของผู้มีจิตอาสา
10.15 – 10.45    เมื่อเราอยู่ในโลกมืด เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง ถึงการรับรู้สิ่งรอบข้าง
                        และการปรับตัวให้ถ่ายภาพได้อย่างไรเมื่อต้องอยู่ในโลกมืด
10.45 – 12.00    เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล 1-5 คน ทั้งภาพแนวนอนและแนวตั้ง 
                        พร้อมทำ Workshop
12.00 – 13.00    รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00    การถ่ายภาพมาโคร พร้อมทำ Workshop
14.00 – 14.30    ตอบข้อสงสัยต่างๆ
14.30 – 14.45    พัก
14.45 – 15.30    เล่าเรื่องประสบการณ์การสอน และ การสื่อสารกับน้องตาบอด
15.30 - 15.45    ตอบข้อซักถาม



ผู้รับผิดชอบโครงการ  กลุ่มPict4all ( http://www.Pict4all.com - ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน )
ผู้สนับสนุนโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทร์เกษม  , Canon Marketing (Thailand) Co., Ltd. , TK Park อุทยานการเรียนรู้

                  

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

4.โลกมืดหลังเลนส์ อะไรก็เป็นไปได้

 

 

 

 

 

  

โดย : นิภาพร ทับหุ่น 

 

ต่อไปนี้ View Finder กับจอ LCD จะไม่มีประโยชน์อะไร เมื่อคนกลุ่มหนึ่งใช้ "ใจ" แทน "ตา" ในการถ่ายภาพ

จากแรงบันดาลใจ

"คนตาบอดจะถ่ายรูปได้ยังไง"





เป็นคำถามที่ถูกสะท้อนกลับมาทุกครั้งเมื่อ ฉุน หรือ นพดล ปัญญาวุฒิไกร พยายามบอกเล่าถึงโครงการที่เขาคิดให้คนอื่นๆ ฟัง และดูเหมือนว่า ยิ่งอธิบาย ก็ยิ่งพบแต่เครื่องหมายปรัศนีย์ (?) 
"โครงการนี้ยังไม่มีใครเคยทำในเมืองไทย แม้แต่ต่างประเทศก็น้อยมาก เท่าที่ค้นดู ประเทศแรกรู้สึกจะเป็นญี่ปุ่น ประเทศที่สองคือ อิสราเอล ส่วนประเทศที่สาม ผมไม่แน่ใจว่าเป็นอังกฤษหรืออเมริกา เราเป็นประเทศที่สี่ในโลกที่ทำ" 
นพดล หมายถึง โครงการสอนคนตาบอดถ่ายภาพ ที่มีอาสาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Pict4all ชุมชนคนรักการถ่ายภาพ ที่ไม่ได้มุ่งหวังความสุขจากกิจกรรมถ่ายภาพเท่านั้น แต่ยังสร้างรอยยิ้ม ความชุ่มชื่นใจให้กับสังคม และกลุ่มคนด้อยโอกาสต่างๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นของโครงการนี้มาจากความคิดของบุคคลผู ้หลงใหลการถ่ายภาพอย่าง อาจารย์ธวัช มะลิลา


"เวลาสอนถ่ายภาพ ผมเน้นว่า คนที่จะถ่ายภาพได้ต้องมีแรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพ" อาจารย์ธวัช บอกสั้นๆ ก่อนจะย้อนถึงแรงบันดาลใจจากผู้พิการแขน ขา และดวงตา ที่ทำให้เกิดโครงการสอนคนตาบอดถ่ายภาพขึ้นในประเทศไท ย

"วันหนึ่งผมไปที่สนามหลวง ตอนนั้นมีงานพระศพของสมเด็จพระพี่นางฯ มีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งรถวีลแชร์ ผมสงสัยว่าเธอมาทำไม แล้วเธอแยกจากคนอื่นๆ หมดเลยนะ ผมเดินแซงหน้าเธอออกไปแล้วหันกลับมาถึงได้รู้ว่า คอเธอคล้องกล้องมาด้วย ผมสัมภาษณ์ว่า เธอมีแรงบันดาลใจอะไร เธอบอกว่า ชอบถ่ายภาพมาก ถ่ายภาพคือความสุข ผมเลยถ่ายภาพเธอไว้ แล้วบอกว่า ผมจะขอใช้ภาพที่ถ่ายไว้ไปประกอบการบรรยายถึงเรื่องแร งบันดาลใจในการถ่ายภาพ

ครั้งที่สอง ผมเอาของไปแจกที่จังหวัดน่านกับคุณฉุน เสร็จก็ไปเที่ยวกันที่เขาน้อย เป็นเชิงเขาสูงที่มองลงไปจะเห็นตัวเมืองน่าน ผมมองลงไปเห็นผู้ชายคนหนึ่งกำลังยืนถ่ายภาพอยู่ แต่ลักษณะในการถ่ายภาพมันผิดปกติ ผมเลยเดินลงไปหาเขา ปรากฏว่าเขาแขนด้วน 2 ข้างถึงข้อศอก แต่เขายิ้ม ผมถามเขาว่า รู้สึกยังไงที่ได้ถ่ายภาพ เขาบอก มีความสุขมาก ผมก็ทำเหมือนเดิม"

อาจารย์ธวัช นำเรื่องราวของผู้พิการทางร่างกายทั้ง 2 กรณีนั้นมาประกอบการสอนการถ่ายภาพ จนเมื่อกลางปีที่แล้วอาจารย์มีโอกาสเข้ารับฟังการบรร ยายเชิงปฏิบัติการ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายของคนตาบอดชาวอิสราเอล จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทำโครงการนี้ขึ้นมา


"คุณไอริส ดาเรล ซีนาร์ (Iris Darel Shinar) บอกว่า ขณะที่เธอไปสอนคนตาบอดถ่ายภาพ คนตาบอดรู้สึกภูมิใจว่าเขามีโอกาสทำในสิ่งที่คนตาดีท ำ แล้วเขาก็มีความสุขมาก ผมสงสัยว่า เขาจะมีความสุขได้ยังไง จนเมื่อครั้งที่แล้ว(การสอนครั้งแรก) ผมมาดู เขามีความสุขจริงๆ "

หลังจากนั้นความคิดเรื่องการจัดทำโครงการสอนคนตาบอดถ ่ายภาพก็เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีแรงเสริมจาก นพดล และสมาชิกกลุ่ม Pict4all ยิ่งทำให้โครงการนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

"คุณฉุนยอมเป็นคนตาบอด 3 ครั้ง ครั้งละ 8 ชั่วโมง ปิดตาหมดเลย แล้วไปถ่ายภาพตามที่ต่างๆ ที่คุณฉุนไม่เคยไป ผมก็ไปสังเกตการณ์ แล้วก็คิดกันว่าจะต้องทำให้ได้ เพราะผมอยากจะเห็นการสอนคนตาบอดถ่ายภาพในประเทศไทย ซึ่งยังไม่เคยมีเลย ผมคิดว่า เราน่าจะให้โอกาสคนพิการทางสายตาได้มีความสุขบ้าง"


ในฐานะผู้เสียสละ นพดล ยอมรับว่า การใช้ชีวิตในโลกมืดไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ประสาทสัมผัสส่วนที่เหลือช่วยประคับประคองทิศ ทาง แต่การมองไม่เห็นอะไรเลยบางครั้ง ก็ทำให้เขาค้นพบความสุขบางอย่างที่ซ่อนอยู่




"ตอนตาดีเราโดนสายตาบดบังความรู้สึกอื่นๆ ไปหมด เพราะเราใช้ตานำ แต่พอตาบอดปั๊บ สิ่งที่เคยกังวล เคยกลัว ไม่ได้เป็นอุปสรรคหลักในการถ่ายรูปเลย...บอกตามตรงว่ า ตั้งแต่ผมถ่ายรูปมา 5 ปี ตอนที่ผมเป็นคนตาบอดถ่ายรูปเป็นช่วงที่ผมมีความสุขมา กที่สุด อย่างแรกเลย รู้สึกว่าเราไม่ได้ถ่ายภาพเพราะความอยาก เราไม่เห็น เราไม่รู้เลยว่าตรงนั้นมันสวยงาม สีสันเป็นยังไง เราถ่ายเพราะใจ มันเป็นภาพคนกำลังชงกาแฟ แม่ค้าขายของ คือเราฟังเสียงเขาแล้วรู้สึกว่าเป็นน้ำเสียงที่ดี ดูมีความสุข น่าจะเป็นภาพที่ดี เราไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่า แต่ใจเรารู้สึกมีความสุข ถ่ายแล้วเราก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่ามันสวยหรือไม่ เพราะว่ายังไงเราก็ไม่เห็นภาพ แต่มันมีความรู้สึกดี บันทึกภาพยู่ในความทรงจำดีๆ ของเรา


ซึ่งการที่ผมได้เป็นคนตาบอดมันทำให้ผมเข้าใจว่า การที่เราใช้ความรู้สึกนึกคิดของเราไปคิดแทนความรู้ส ึกของผู้ด้อยโอกาสทาง สังคม มันอาจจะเป็นความคิดที่เห็นแก่ตัวไปหน่อย"





สู่ผู้พิการทางสายตา
จากแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นนั้น นพดล จึงค่อยๆ เขียนโครงการและหลักสูตรการสอนขึ้นมา เพื่อเสนอไปยังโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ โดยมีอาจารย์ธวัช มะลิลา และอาจารย์ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย เป็นที่ปรึกษา รวมถึงการสนับสนุนจากสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


"ตอนแรกที่ติดต่อเข้าไปในโรงเรียน เขา Block เลย เขาบอกว่า มีคนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อหาผลประโยชน์กันเยอะ จนเราได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานศิลปะและวัฒนธรร ม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมในการประสานงาน จึงได้รับอนุญาตให้ทำโครงการนี้" นพดล ว่า

ด้าน รุจิรัตน์ ปะวันโน หรือ ครูเต๋า ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ บอกว่า ปกติที่โรงเรียนจะมีกลุ่มคนต่างๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะศิลปินดารา เมื่อมาแล้วก็มักจะมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ซึ่งเด็กๆ บางคนอยากถ่ายภาพบ้าง สังเกตจากการขอลองจับกล้อง และสัมผัสอย่างนุ่มนวล

"พอบอกว่าจะมีคนเข้ามาสอนถ่ายภาพ เด็กๆ ตื่นเต้นกันมาก บอกว่า พวกเขาสามารถถ่ายภาพได้ด้วยเหรอ แม้เขาจะรู้จักกล้อง รู้จักวิวัฒนาการของมัน ใครมาเยี่ยมก็ขอจับกล้อง หรือเวลาครูบอกจะถ่ายภาพแล้วนะ พวกเขาก็จะยิ้ม แต่เขาไม่เคยคิดว่าจะได้ลงมือถ่ายภาพเองจริงๆ"


ความตื่นเต้นดีใจกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังจะได้รับ ทำให้เด็กผู้พิการทางสายตาพากันสมัครเข้าเรียนในหลัก สูตรนี้มากถึง 30 คน แต่ก็ติดปัญหาที่ว่าอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีจำกัด ทำให้ครูเต๋าจำเป็นต้องคัดเด็กที่ตาบอดสนิท 10 คน มาเรียนในหลักสูตรแรกก่อน

"หลักสูตรแรก 10 คน แล้วก็จะมีหลักสูตรที่ 2 ที่ 3 ตามมา เพราะเด็กๆ ที่สมัครอยากมาเรียนทุกคน ตอนนี้ก็ถามว่า เมื่อไรหนูจะได้เรียน" ครูเต๋า บอก



 

ถามนพดลว่า กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้น่าจะมีผู้สนับสนุนเป็นบริษั ทกล้องถ่ายภาพบ้าง เขาว่า ตอนแรกก็ตั้งใจจะขอสปอนเซอร์เหมือนกัน แต่ติดปัญหาตรงที่ประเทศไทยไม่เคยมีโครงการลักษณะนี้ มาก่อน อาจจะทำให้หลายฝ่ายนึกภาพไม่ออก

"อีกอย่างคือเราเองก็ไม่มั่นใจว่าทำโครงการนี้แล้วจะ ประสบความสำเร็จ มั้ย เลยต้องลงทุนกันเองก่อน ก็ลงทุนซื้อกล้องดิจิตัลมา 10 ตัว ประมาณ 35,000 บาท เราตัดสินใจว่า ถ้าสอนครบ 3 รุ่นแล้วได้รับการตอบรับที่ดี เด็กสามารถถ่ายรูปด้วยตัวเองได้ อุปกรณ์ทั้งหมดเราจะบริจาคให้ที่นี่พร้อมสมุดภาพซึ่ง จันทรเกษมจะเป็นคน เตรียมงบประมาณในการอัดรูป เพราะเราตั้งใจทำอัลบั้มภาพให้กับนักเรียนด้วย เป็นอัลบั้มขนาดเอ4 แต่เราจะปรินท์รูปแค่ 4x6 นิ้ว พื้นที่ที่เหลือจะใส่อักษรเบล เพื่อให้เขาสามารถจัดเรียงภาพของตัวเองได้"

สำหรับหลักสูตรการสอนคล้ายการถ่ายภาพของคนปกติทั่วไป เช่น ภาพบุคคล ภาพมาโคร ภาพวิวทิวทัศน์ ซึ่งเตรียมไว้ทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง แต่แค่ครั้งแรกเท่านั้นก็ทำให้ต้องปรับหลักสูตรกันยก ใหญ่ เพราะเด็กๆ ผู้พิการทางสายตาทุกคนเรียนรู้ค่อนข้างเร็ว

"วันแรกเราเตรียมสอนเรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนการ์ด ซึ่งกำหนดเนื้อหาตรงนี้ไว้ 1 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่า พอเริ่มเรียนเนื้อหาทุกคนแจ้งมาภายใน 15 นาที ว่า ทำเป็นหมดแล้ว ผมก็ถามว่า ทำยังไง เขาบอกทันทีที่รู้ว่าเปิดกล้องยังไง เด็กๆ จะสัมผัสแบตเตอรี่เลยว่าขั้วบวกขั้วลบอยู่ตรงไหน แล้วจึงเอาออก ไม่ใช่เปิดปุ๊บ เทแบตเตอรี่ออกเลย เขามีวิธีเรียนรู้ของเขาเอง ส่วนการ์ด เมื่อกดออกมาแล้วหน้าคอนแทคที่จะสัมผัสกับขั้วการบัน ทึกข้อมูลมันหันหน้าไป ทางไหน ปรากฏว่าทำได้ตั้งแต่ครั้งแรก ในขณะที่คนตาดีอย่างเราบางทีก็ใส่ไม่ถูกเพราะเราไม่จ ำ ถ้าใส่ไม่ถูกเดี๋ยวเราก็ใส่ใหม่ แต่นี่คือการเรียนรู้ของเขา" นพดล บอกอย่างอึ้งๆ








ถามครูอาสาอย่าง ชาย - ทนงศักดิ์ ธรรมวุฒิ ว่า การสอนคนตาบอดถ่ายภาพนั้น ยาก-ง่าย อย่างไร เขาสารภาพตรงๆ ว่า

"ใช้คำว่าสอนคงจะไม่ได้ เขาสอนเรามากกว่า จริงๆ นะ บางอย่างเขาแก้ได้แบบที่เราคิดไม่ถึง เช่น แก้ภาพเอียง เขาก็เอากล้องไปวัดกับคิ้ว หรือหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง ใช้คำว่า "เซอร์ไพรส์" ดีกว่า จนรู้สึกว่า สุดท้ายแล้วไอ้ที่คับแคบนั่นคือตัวเราเอง เราคิดว่ามันคงยาก มันคงเป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเขาโอเพ่นมาก เขาเปิดรับ คนตาบอดจริงๆ มันคือเรา เราไปวางความคิดว่าเขาต้องอย่างนี้ อย่างนั้น แต่จริงๆ ศักยภาพของเขาเยอะมาก...ตอนแรกเรากะมาให้ แต่สุดท้ายเราได้รับ ได้รับวิธีคิด มุมมอง หลายสิ่งหลายอย่างที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นไปได้"




เช่นเดียวกับน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ที่เพิ่งเข้ามาสังเกตการณ์วันแรกก็เล่นเอาบ่อน้ำตาเก ือบแตกเพราะความภาคภูมิ ใจ

"ไม่คิดว่าเขาจะถ่ายได้ แต่พอมาเห็นแล้วรู้สึกดี ภูมิใจว่าเขาถ่ายได้" อิง-เมทินี ศรีแก้ว ตัวแทนน้องๆ นักศึกษาทั้ง 5 คน บอก





เปลี่ยนบรรยากาศมานั่งคุยกับนักเรียนกันบ้าง คนแรกเป็นนักเรียนแสนซน น้องโอ๊ต-วันพระ อังศุนาถ อายุ 15 ปี ซึ่งมีบุคลิกส่วนตัวไม่เหมือนใคร ชอบปีนป่ายไปถ่ายภาพในมุมสูงทั้งๆ ที่ตาทั้ง 2 ข้างมองไม่เห็น หรือไม่ก็นั่งถ่ายภาพเสยขึ้นไป เป็นเทคนิคส่วนตัวที่ทำให้ครูผู้สอนอย่างครูชายอดอมย ิ้มไม่ได้


น้องโอ๊ตเล่าว่า เขาเคยมองเห็นโลกสีฟ้าใบนี้มาก่อน แต่ตอนอายุ 9 ขวบ ขณะเล่นฟุตบอลอยู่จู่ๆ เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าผ่านหน้าไป แสงในครั้งนั้นส่งผลให้การมองเห็นของเขาเลือนลาง และไร้การควบคุมในที่สุด

"ผมรู้สึกว่าตาบอดดีกว่าตาดี เพราะไม่ต้องเห็นอะไรที่มันไม่ดี อยู่แบบนี้สงบดี ไม่มีอะไรที่ทำให้เห็นแล้วต้องเครียด แต่ก็มีบางเรื่องเหมือนกัน อย่างเช่นอยากไปเที่ยวเอง ไปเห็นอะไรต่างๆ มันก็มีบ้าง แต่ผมว่าตาบอดดีกว่า"

หนุ่มวัย 15 คนนี้ บอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการถ่ายภาพของคนตาบอด คือการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว เพราะเขาไม่สามารถมองเห็นว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด แต่เขาก็จะพยายามถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้ได้ เพื่อการพัฒนาเป็นช่างภาพตาบอดมืออาชีพในอนาคต




ส่วน น้องฝน-สุชานาถ มาลาทอง สาวน้อยวัย 12 ปี บอก ชอบกิจกรรมถ่ายภาพมาก และไม่คิดว่าตัวเองจะมีโอกาสจับกล้องแล้วลั่นชัตเตอร ์เอง






"อยากถ่ายรูปให้พ่อแม่ดู ให้รู้ว่าหนูทำได้ แต่ตอนนี้หนูยังไม่ได้บอกพวกเขาเลยว่าหนูเรียนถ่ายรู ปอยู่" (หัวเราะ)
นพ ดล บอกว่า อยากให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องที่ใครก็สามาร ถเข้ามาช่วยกันสานต่อ ได้ ส่วนการขยายผลคือ จะทำโปสการ์ดภาพถ่ายผลงานของนักเรียนผู้พิการทางสายต า เพื่อนำออกจำหน่าย ให้เขาได้ภาคภูมิใจในผลงานและรายได้ของตัวเอง

"เราวางแผนว่าอยากจัดนิทรรศการภาพถ่ายผลงานของผู้พิก ารทางสายตา ก็ถือโอกาสนี้เป็นการบอกกล่าวกับทาง หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเลยว่า เมื่อถึงเวลาจริงๆ แล้วเราอยากให้หอศิลปฯ ให้เวลาและสถานที่กับผลงานตรงนี้ เพราะเราอยากให้สังคมได้รับรู้ว่าผู้พิการทางสายตาเข ามีความสุข และความสามารถในแบบที่เราคาดไม่ถึง" นพดล ทิ้งท้าย


ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เซคชั่นจุดประกาย ฉบับวันที่ 2 ธนวาคม 2553

http://www.bangkokbiznews.com/home/d...5649/news.html








ผู้รับผิดชอบโครงการ  กลุ่มPict4all ( http://www.Pict4all.com - ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน )
ผู้สนับสนุนโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทร์เกษม  , Canon Marketing (Thailand) Co., Ltd. , TK Park อุทยานการเรียนรู้