วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

6.โครงการสานฝันเพื่อครู... เมื่อคนตาบอดก็ถ่ายภาพได้

 การได้ดื่มด่ำกับความงดงามของ ธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า แล้วบรรจงจัดองค์ประกอบภาพตามความพึงพอใจเพื่อถ่ายทอ ดสิ่งที่เห็นลงบนสื่อบันทึกภาพของกล้อง เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่มีค่ามหาศาลแก่ชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ของผม

สีสันและแสงเงา ที่ปรากฏอยู่ในทุกหนแห่ง ล้วนแปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน ของเดือน ของฤดูกาล ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้น เราจะ “มอง” แล้ว “เห็น” ความงามที่ซุกซ่อนอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งได้เห็นมาก เราก็จะยิ่งมีความสุขมากยิ่งขึ้น ทำให้คิดต่อไปว่าแม้หากผมต้องกลายสภาพเป็นคนตาบอดสนิ ทลงไปในตอนนี้ ซึ่งส่งผลให้ไม่อาจมองเห็นสรรพสิ่งใด ๆ ได้อีกแล้วก็ตาม ผมก็เชื่อว่าผมจะยังคงสามารถถ่ายภาพได้ ด้วยความเคยชินมาเป็นเวลานานพอสมควร แม้จะมีข้อจำกัดในการมองเห็น ซึ่งน่าจะชดเชยได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางอื่นแทน และน่าจะมีความสุขกับการถ่ายภาพได้อีกต่อไปตราบเท่าที่ผมต้องการ

แต่สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมาตั้งแต่กำเนิด หรือภายหลังก็ตาม โดยที่บุคคลผู้นั้นไม่เคยผ่านการเรียนรู้เรื่องการถ่ ายมาก่อนเลย เมื่อเราสอนให้ถ่ายภาพแล้ว เขาจะสามารถถ่ายภาพได้หรือไม่ นั่นคือข้อสงสัยของผมในขณะนั้น



จากคำพูดของครูธวัช มะลิลา ที่ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในนิตยสาร“On Camera” ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551 ที่ขออนุญาตคัดลอกจากที่พี่มอห์มพิมพ์ไว้มาใช้งานนะคะ

 




จุดเริ่มต้น หรือบททดสอบสถานที่แรกที่เราเลือกและคิดกันไว้นั้น ต้องเป็นสถานที่ๆต้องไม่เคยไปถ่ายภาพมาก่อน เพื่อให้ไม่สามารถมีภาพแห่งความทรงจำในใจได้ว่ามีอะไร อยู่ที่ไหน

เป็นการเริ่มต้นโดยแท้จริง เพื่อให้เรียนรู้ว่า คนตาบอดจะถ่ายภาพได้อย่างไร ต้องขอขอบคุณพี่ฉุน ผู้เสียสละเป็นแบบทดสอบมา ณ ที่นี้คะ

ปฏิบัติการของพวกเราโจทย์แรกเริ่มต้นที่ ตลาดศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี โดยการปิดตานั้นเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนขึ้นรถเมื่อรับครูธวัช ที่บ้านย่านประชาชื่น เมื่อมาถึงที่หมาย การทดสอบก็เริ่มขึ้นโดยมีพี่เปิ้ลภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากของพี่ฉุนเป็นผู้สังเกตการณ์และคอยเดินตาม เช่นนี้







สิ่งที่พี่ฉุนถ่ายภาพออกมาเป็นเช่นไร ขอให้อดใจรอกันนิดหนึ่งคะ ต้องไปหาภาพที่เคยได้รับก่อน จะได้ภาพพี่เปิ้ลแบบนี้หรือเปล่าหน๊อ






ไม่ว่าภาพซึ่งเป็นบททดสอบจะออกมาสมบูรณ์หรือไม่เพียง ใด แต่..สิ่งที่รับรู้ได้ในวันนั้นก็คือ ความเป็นคู่ทุกข์ คู่ยาก ที่พร้อมจะเดินเคียงข้างกันไปในยามที่อีกฝ่ายไม่สามา รถมองเห็นได้ โดยไม่รู้สึกเขินอายต่อสายตาทุกคู่ที่เฝ้ามองระหว่าง ที่พวกเราทำการทดสอบ กับเป็นภาพที่น่ารักแสดงถึงความห่วงใยซึ่งกันและกัน


 




ระหว่างการเดินเพื่อบันทึกภาพตามแต่ละจุดนั้น ชาวบ้านต่างมีคำถามด้วยความสงสัยและห่วงใย และเรามักจะทักทายและขออนุญาตผู้อยู่ในภาพนั้นๆก่อน เช่นคุณลุงท่านนี้








การทดสอบถ่ายภาพในครั้งแรกนี้ เราไม่ได้จำกัดว่าจะถ่ายเฉพาะเจาะจงสิ่งใด แต่..เป็นการถ่ายภาพจากเหตุการณ์ที่เดินผ่านทุกย่างก้าว และใช้การฟังจากเสียงรอบกายรวมทั้งความรู้สึก ณ เวลานั้น

เมื่อเหนื่อย หรือเมื่อย ก็หยุดพัก










เพื่อให้มีแรงก้าวเดินต่อไป กับบททดสอบในจุดที่สอง คือ "ตลาดเก้าห้อง"




คนตาบอดก็ถ่ายภาพไป คนตาดีสองคนก็ถ่ายภาพไป แบบนี้ต้องนำภาพมาแบ่งปันว่า ตาดี กับ ตาบอด มีมุมมองอะไรในสถานที่เดียวกันซะแล้ว








 คนตาดี กับคนตาบอด ใครจะถ่ายภาพอีกฝ่ายจากเสียงที่สื่อถึงกันเท่านั้นได้ดีกว่ากัน




คนตาดีบางคนก็อดเก็บความสงสัยไม่ได้ ต้องถามไถ่คนตาบอดว่า "รู้สึกอย่างไรบ้าง"ด้วยความเป็นห่วงและใคร่รู้




 แล้วคนตาดี สองคนก็ทำซุกซนเป็นตาบอดข้างเดียว เช่นนี้






 เมื่อคนตาบอดและคนตาดีมาทดสอบปฏิบัติการร่วมกัน ก็ต้องบันทึกภาพไว้เป็นที่ระลึก ณ บริเวณหอดูโจร








คนตาบอดจับกล้องถูกวิธีหรือไม่ ช่วยตอบที






สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงบทเริ่มต้นที่พวกเราตั้งใจช่วยกันสานฝันเจต นาอันบริสุทธิ์และงดงามของครูธวัช มะลิลา ให้มิใช่เป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้น

ตามที่ครั้งหนึ่งครูเคยเข้าร่วมฟังคำบรรยาย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2552 ผมมีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายผลงานของคนตาบอดชาวอิสราเ อล จำนวน 8 คน ได้บันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันของพวกเขา นับตั้งแต่สิ่งธรรมดาสามั* อย่างผู้โดยสารที่รอรถไฟ ไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งได้เคยจัดแสดงมาแล้วทั่วประเทศอิสราเอล กับทั้งได้รับการถ่ายทำเป็นข่าวสารคดีโดยสำนักข่าวซี เอ็นเอ็น เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 และสำหรับครั้งนี้จัดขึ้นที่ ไอคิว แลป ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยมี อิริส ดาเรล ซีนาห์ และ คเฟียร์ ซิวาน ครูผู้สอนชาวอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมกันคิดค้นวิธีการ แล้วนำไปสอนถ่ายภาพให้คนตาบอด เป็นผู้ถ่ายทอดเบื้องลึกในเรื่องนี้ โดยเล่าว่าการถ่ายภาพของคนตาบอดนั้น ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะผู้คนมักเชื่อมโยงการถ่ายภาพเข้ากับ “แสง” และ “การมองเห็น”

แม้ว่าทั้งอิริส และคเฟียร์ จะเป็นครูสอนคนตาบอดถ่ายภาพ แต่ทั้งสองท่านก็ยอมรับว่าตอบไม่ได้ว่าคนตาบอดเห็นอะ ไรในภาพ รู้เพียงว่าคนตาบอดใช้ “ใจ” มองภาพ และเชื่อว่าคนตาบอดมีสัมผัสที่ 6 เพราะในช่วงเวลาที่ออกไปถ่ายภาพ คนตาบอดจะรู้ว่าถ่ายอะไร เมื่อกลับเข้ามา ครูถามว่าไปถ่ายภาพอะไรมา เหล่านักเรียนตาบอดสามารถบอกได้ตรงกันกับสิ่งที่ปราก ฎในภาพถ่าย

ผู้พิการทางสายตาหรือคนตาบอด คือกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ บางคนมีความสามารถพิเศษพร้อม ๆ กันหลายด้าน แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าคนตาบอดจะมีความสามารถถ่ายภาพ ได้ ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้วเขาเหล่านั้นใช้ใจสัมผัสแ ทนตา ใช้จินตนาการ ความรู้สึก และประสาทสัมผัสทั้ง 5 นอกจากการมองเห็น เขาสามารถวัดระยะของวัตถุด้วยการใช้หูฟังเสียงแทนการ มองเห็นด้วยตา ใช้ผิวหนังบอกเล่าถึงทิศทางและความเข้ม/อ่อน ของแสง ให้จมูกดมกลิ่นของสิ่งต่าง ๆ และที่พิเศษก็คือ คนตาบอดถ่ายภาพโดยไม่เลียนแบบใคร เพราะไม่เคยเห็นภาพของใครมาก่อน แม้เป็นภาพธรรมดา ๆ แต่มีความบริสุทธิ์ มีความเป็นเอกลักษณ์ แสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ทั้ง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นด้วยใจ

ประการสำคั*ก็คือ การถ่ายภาพช่วยให้คนตาบอดเกิดความภูมิใจในศักยภาพของ ตนเอง เมื่อสามารถทำในสิ่งที่คนปกติทำได้ และสิ่งที่ตามมาก็คือ “ความสุข” อันเกิดจากการถ่ายภาพ เช่นเดียวกันกับที่ผมกำลังมีอยู่ในขณะนี้

ก่อนจะสิ้นสุดการสัมมนา ได้มีการแจกผ้าผืนเล็ก ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมรับฟังที่มีกล้องถ่ายภาพติดตัวมาด้ วย ใช้ผ้าผูกตาตนเองจนไม่สามารถมองเห็น เสมือนหนึ่งเป็นคนตาบอด แล้วกดชัตเตอร์ถ่ายภาพตามทิศทางที่ผู้บรรยายให้สั**า ณเสียง เช่น เสียงลั่นชัตเตอร์ของกล้องถ่ายภาพ เสียงปรบมือ โดยผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เข้าร่วมการทดสอบครั้งนั้นด้ว ย ซึ่งปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

นั่นก็คือ “แรงบันดาลใจ” ให้ได้ตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในการถ่ ายภาพที่พอจะมีติดตัวอยู่บ้างเล็กน้อย ให้กับผู้พิการทางสายตา หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนด้อยโอกาสอื่น ๆ ได้ย่างก้าวขึ้นมาสู่ถนนของการถ่ายภาพ ถนนเส้นเดียวกันกับที่ผมกำลังเดินอยู่อย่างมีความสุข และผมก็เชื่อแน่ว่าเราสามารถจะถ่ายทอดความสุขที่มี ไปยังผู้คนเหล่านั้นได้โดยไม่ยากนัก หากเราจะร่วมผนึกกำลังกันให้เป็นหนึ่งเดียว แล้วลงมือทำอย่างมุ่งมั่น จริงจัง ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด

จึงก่อให้เกิดชุมชนคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ชุมชน p4a


อยากให้เพื่อนพ้องน้องพี่ลองมาติดตามภาพ จากผลการทดลอ งครั้งนี้ว่าออกมาเป็นอย่างไรบ้าง และมาร่วมกันช่วยสานครูให้เป็นความจริงกันนะคะ




โปรดติดตามตอนต่อไป นะคะ

ลองมาดูบรรยากาศทริปทดสอบที่2 เส้นทางโพธาราม วัดไทรและวัดคงคา (ถ้าจำผิดรบกวนพี่ฉุนหรือสมาชิกช่วยบอกด้วยนะคะ)

การออกทริปทดสอบครั้งที่2นี้ เรายังคงยึดหลักการเดิมปิดตาตั้งแต่เริ่มเดินทาง แต่เมื่อถึงสถานที่สุดท้าย คนตาบอดรู้สึกอย่างไรเมื่อจะเลิกตาบอดแล้วคร๊าบพ๋ม












พอรู้ว่าได้เห็นโลกอันสดใสแล้วเท่านั้น พระเอกก็...หัวเราะร่า น้ำตาริน เช่นนี้เอง




 


 และแล้วก็ต้องถ่ายภาพหมู่ของสมาชิกที่ร่วมทำแบบทดสอบ ในครั้งที่ 2 โดยคนตาดี+ขาตั้งกล้องซะหน่อย





แต่..ภาพนี้เป็นภาพที่คนตาบอดถ่ายให้ เหล่าคนตาดีก่อน ที่จะเปิดตามองโลก ก็ม่ะรู้ว่าคนตาดีจะขายหน้าคนตาบอดหรือเปล่านะคะ งานนี้ต้องให้ท่านผู้ชมตัดสินแล้วคร๊า







บทความโดย สุนันท์  คุณากรไพบูลย์ศิริ
จากเว็บ http://www.pict4all.com


*************************************




เมื่อต้องมาเป็นคนตาบอดถ่ายภาพ 
โดย นพดล ปัญญาวุฒิไกร



ครูธวัชที่พวกเราเคารพรัก มีความฝันที่จะนำความรู้ในศิลปะการถ่ายภาพ มาทำประโยชน์ให้กับสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หนึ่งในโครงการที่หวังไว้คือ "การสอนคนตาบอดถ่ายภาพ"

เพื่อร่วมด้วยช่วยกันสานฝัน เพื่อให้ความปรารถนาของครูธวัชเป็นจริง พวกเราจึงรวมตัวกันมาทำโครงการนี้

การเตรียมการ เริ่มตั้งแต่ลองเป็นคนตาบอดถ่ายภาพ โดยมีผมเป็นอาสาสมัครคนแรกที่จะลองเป็นคนตาบอด ออกถ่ายรูปในสถานที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน และเริ่มมองไม่เห็นตั้งแต่ตอนออกเดินทาง ซึ่งกินเวลาราวชั่วโมงครึ่ง เรื่อยไปจนจนทริป รวมแล้วประมาณ 9 ชั่วโมง

กล้องที่ใช้ เป็นกล้องคอมแพคท์ มีช่วงทางยาวโฟกัสระหว่าง 28-112 มม. ตั้งโหมดไว้ที่ P ISO 100 และ Auto White Balance

ถ่ายไป 100 ใบตลอดทริป เป็นภาพที่ดูได้ไม่เคอะเขิน เสีย 40-50 ภาพ

ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้ความรู้สึกทางหูเป็นตัวบอกทิศทาง และจับจังหวะในการถ่ายภาพ ที่ตลาดศรีประจันต์







การถ่ายภาพในยามที่ต้องตาบอดนั้น ผมใช้ความรู้สึกทางกายในเรื่องของทิศทางแสงจากแสงแดด ทางจมูก และทางหู ชดเชยกับการที่มองไม่เห็น

เรื่องทิศทางของแสงนั้น ยังคงเป็นปัญหาแน่ถ้าไม่มีแสงแดด ที่จะให้ผมรู้สึกว่าส่วนไหนของร่างกายที่ร้อน

ภาพนี้ถ่ายภรรยา จากการฟังเสียงเรียก




 
การที่กลายสภาพเป็นคนตาบอดนั้น ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างเลย ทั้งเกี่ยวเนื่องกับการที่จะไปสอนคนตาบอดถ่ายภาพ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตใจของเราโดยตรง


ภาพนี้ถ่ายโดยการฟังเสียงเรียกจากแม่ค้า




ส่วนที่เกียวข้องกับการสอนคนตาบอดถ่ายภาพนั้น เริ่มตั้งแต่ การจับกล้อง การถือกล้องอย่างไร การเปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนการ์ดความจำ


ภาพนี้ถ่ายพี่ที่่ร่วมโครงการ โดยฟังจากเสียงเช่นกัน




 และก็ไม่อยากเชื่อเลยว่า เมื่อยามสูญเสียการมองเห็น เสียงที่ได้ยินผ่านประสาทหูนั้น เป็นเสียงที่มีความไพเราะ ก้องกังวาน และเป็นเครื่องนำทางได้ด้วย




 ความรู้สึกเย็นร้อนทางกายก็เช่นกัน ยามตาดี เราแทบจะไม่รู้สึกถึงความรู้สึกดังกล่าวเลย แสดงว่าเรากำลังถูกประสาทสัมผัสบางอย่างกลบความรู้สึ กด้านอื่นๆไปเสียหรือเปล่า






การที่ต้องถ่ายรูปในยามที่ตามองไม่เห็นนั้น ผมกลับมีความสุขมากที่สุดตั้งแต่ถ่ายรูปมาเลยละ ไม่ต้องปรุงแต่ง ไม่ต้องคาดหวังในสิ่งที่ทำ แค่ทำเสร็จแล้วก็เสร็จสิ้น 






ก็เพราะมองไม่เห็นนี่ละ ถ่ายเสียอย่างนี้ก็ไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องเครียด

เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่รู้ว่าจะมีฉากหน้าอะไรมาบังสิ่งที่อยากถ่ายหรือ เปล่า

อยากถ่ายมอเตอร์ไซค์ที่กำลังวิ่งอยู่ แต่ได้แบบนี้ ยังดีที่ยังพอเห็นว่าเป็นมอเตอร์ไซค์วิ่ง



 บางครั้ง เมื่อหูได้ยินเสียง ก็สู้ จมูกได้กลิ่นไม่ได้




 เราอยากให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครสอนคนตาบอดถ่ายภาพ ซึ่งเรามีตารางสอนในรุ่นแรกของปี2555 ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2555 ที่อาคารศิลปวัฒนธรรม ม.ราชภัฎจันทร์เกษม




ผู้รับผิดชอบโครงการ  กลุ่มPict4all ( http://www.Pict4all.com - ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน )
ผู้สนับสนุนโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทร์เกษม  , Canon Marketing (Thailand) Co., Ltd. , TK Park อุทยานการเรียนรู้

                  
    คำถามในใจ แต่..พวกเราแอบเข้าไปนั่งในใจครูได้อย่างไรไม่ทราบ จึงเกิดเป็นโครงการที่อยา53 มีผู้เสียสละตนเป็นบททดสอบที่ 1 เป็นใครลองมาติดตามชมกันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น