วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

4.โลกมืดหลังเลนส์ อะไรก็เป็นไปได้

 

 

 

 

 

  

โดย : นิภาพร ทับหุ่น 

 

ต่อไปนี้ View Finder กับจอ LCD จะไม่มีประโยชน์อะไร เมื่อคนกลุ่มหนึ่งใช้ "ใจ" แทน "ตา" ในการถ่ายภาพ

จากแรงบันดาลใจ

"คนตาบอดจะถ่ายรูปได้ยังไง"





เป็นคำถามที่ถูกสะท้อนกลับมาทุกครั้งเมื่อ ฉุน หรือ นพดล ปัญญาวุฒิไกร พยายามบอกเล่าถึงโครงการที่เขาคิดให้คนอื่นๆ ฟัง และดูเหมือนว่า ยิ่งอธิบาย ก็ยิ่งพบแต่เครื่องหมายปรัศนีย์ (?) 
"โครงการนี้ยังไม่มีใครเคยทำในเมืองไทย แม้แต่ต่างประเทศก็น้อยมาก เท่าที่ค้นดู ประเทศแรกรู้สึกจะเป็นญี่ปุ่น ประเทศที่สองคือ อิสราเอล ส่วนประเทศที่สาม ผมไม่แน่ใจว่าเป็นอังกฤษหรืออเมริกา เราเป็นประเทศที่สี่ในโลกที่ทำ" 
นพดล หมายถึง โครงการสอนคนตาบอดถ่ายภาพ ที่มีอาสาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Pict4all ชุมชนคนรักการถ่ายภาพ ที่ไม่ได้มุ่งหวังความสุขจากกิจกรรมถ่ายภาพเท่านั้น แต่ยังสร้างรอยยิ้ม ความชุ่มชื่นใจให้กับสังคม และกลุ่มคนด้อยโอกาสต่างๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นของโครงการนี้มาจากความคิดของบุคคลผู ้หลงใหลการถ่ายภาพอย่าง อาจารย์ธวัช มะลิลา


"เวลาสอนถ่ายภาพ ผมเน้นว่า คนที่จะถ่ายภาพได้ต้องมีแรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจในการถ่ายภาพ" อาจารย์ธวัช บอกสั้นๆ ก่อนจะย้อนถึงแรงบันดาลใจจากผู้พิการแขน ขา และดวงตา ที่ทำให้เกิดโครงการสอนคนตาบอดถ่ายภาพขึ้นในประเทศไท ย

"วันหนึ่งผมไปที่สนามหลวง ตอนนั้นมีงานพระศพของสมเด็จพระพี่นางฯ มีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งรถวีลแชร์ ผมสงสัยว่าเธอมาทำไม แล้วเธอแยกจากคนอื่นๆ หมดเลยนะ ผมเดินแซงหน้าเธอออกไปแล้วหันกลับมาถึงได้รู้ว่า คอเธอคล้องกล้องมาด้วย ผมสัมภาษณ์ว่า เธอมีแรงบันดาลใจอะไร เธอบอกว่า ชอบถ่ายภาพมาก ถ่ายภาพคือความสุข ผมเลยถ่ายภาพเธอไว้ แล้วบอกว่า ผมจะขอใช้ภาพที่ถ่ายไว้ไปประกอบการบรรยายถึงเรื่องแร งบันดาลใจในการถ่ายภาพ

ครั้งที่สอง ผมเอาของไปแจกที่จังหวัดน่านกับคุณฉุน เสร็จก็ไปเที่ยวกันที่เขาน้อย เป็นเชิงเขาสูงที่มองลงไปจะเห็นตัวเมืองน่าน ผมมองลงไปเห็นผู้ชายคนหนึ่งกำลังยืนถ่ายภาพอยู่ แต่ลักษณะในการถ่ายภาพมันผิดปกติ ผมเลยเดินลงไปหาเขา ปรากฏว่าเขาแขนด้วน 2 ข้างถึงข้อศอก แต่เขายิ้ม ผมถามเขาว่า รู้สึกยังไงที่ได้ถ่ายภาพ เขาบอก มีความสุขมาก ผมก็ทำเหมือนเดิม"

อาจารย์ธวัช นำเรื่องราวของผู้พิการทางร่างกายทั้ง 2 กรณีนั้นมาประกอบการสอนการถ่ายภาพ จนเมื่อกลางปีที่แล้วอาจารย์มีโอกาสเข้ารับฟังการบรร ยายเชิงปฏิบัติการ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายของคนตาบอดชาวอิสราเอล จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทำโครงการนี้ขึ้นมา


"คุณไอริส ดาเรล ซีนาร์ (Iris Darel Shinar) บอกว่า ขณะที่เธอไปสอนคนตาบอดถ่ายภาพ คนตาบอดรู้สึกภูมิใจว่าเขามีโอกาสทำในสิ่งที่คนตาดีท ำ แล้วเขาก็มีความสุขมาก ผมสงสัยว่า เขาจะมีความสุขได้ยังไง จนเมื่อครั้งที่แล้ว(การสอนครั้งแรก) ผมมาดู เขามีความสุขจริงๆ "

หลังจากนั้นความคิดเรื่องการจัดทำโครงการสอนคนตาบอดถ ่ายภาพก็เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีแรงเสริมจาก นพดล และสมาชิกกลุ่ม Pict4all ยิ่งทำให้โครงการนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

"คุณฉุนยอมเป็นคนตาบอด 3 ครั้ง ครั้งละ 8 ชั่วโมง ปิดตาหมดเลย แล้วไปถ่ายภาพตามที่ต่างๆ ที่คุณฉุนไม่เคยไป ผมก็ไปสังเกตการณ์ แล้วก็คิดกันว่าจะต้องทำให้ได้ เพราะผมอยากจะเห็นการสอนคนตาบอดถ่ายภาพในประเทศไทย ซึ่งยังไม่เคยมีเลย ผมคิดว่า เราน่าจะให้โอกาสคนพิการทางสายตาได้มีความสุขบ้าง"


ในฐานะผู้เสียสละ นพดล ยอมรับว่า การใช้ชีวิตในโลกมืดไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ประสาทสัมผัสส่วนที่เหลือช่วยประคับประคองทิศ ทาง แต่การมองไม่เห็นอะไรเลยบางครั้ง ก็ทำให้เขาค้นพบความสุขบางอย่างที่ซ่อนอยู่




"ตอนตาดีเราโดนสายตาบดบังความรู้สึกอื่นๆ ไปหมด เพราะเราใช้ตานำ แต่พอตาบอดปั๊บ สิ่งที่เคยกังวล เคยกลัว ไม่ได้เป็นอุปสรรคหลักในการถ่ายรูปเลย...บอกตามตรงว่ า ตั้งแต่ผมถ่ายรูปมา 5 ปี ตอนที่ผมเป็นคนตาบอดถ่ายรูปเป็นช่วงที่ผมมีความสุขมา กที่สุด อย่างแรกเลย รู้สึกว่าเราไม่ได้ถ่ายภาพเพราะความอยาก เราไม่เห็น เราไม่รู้เลยว่าตรงนั้นมันสวยงาม สีสันเป็นยังไง เราถ่ายเพราะใจ มันเป็นภาพคนกำลังชงกาแฟ แม่ค้าขายของ คือเราฟังเสียงเขาแล้วรู้สึกว่าเป็นน้ำเสียงที่ดี ดูมีความสุข น่าจะเป็นภาพที่ดี เราไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่า แต่ใจเรารู้สึกมีความสุข ถ่ายแล้วเราก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่ามันสวยหรือไม่ เพราะว่ายังไงเราก็ไม่เห็นภาพ แต่มันมีความรู้สึกดี บันทึกภาพยู่ในความทรงจำดีๆ ของเรา


ซึ่งการที่ผมได้เป็นคนตาบอดมันทำให้ผมเข้าใจว่า การที่เราใช้ความรู้สึกนึกคิดของเราไปคิดแทนความรู้ส ึกของผู้ด้อยโอกาสทาง สังคม มันอาจจะเป็นความคิดที่เห็นแก่ตัวไปหน่อย"





สู่ผู้พิการทางสายตา
จากแรงบันดาลใจและจุดเริ่มต้นนั้น นพดล จึงค่อยๆ เขียนโครงการและหลักสูตรการสอนขึ้นมา เพื่อเสนอไปยังโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ โดยมีอาจารย์ธวัช มะลิลา และอาจารย์ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย เป็นที่ปรึกษา รวมถึงการสนับสนุนจากสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


"ตอนแรกที่ติดต่อเข้าไปในโรงเรียน เขา Block เลย เขาบอกว่า มีคนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อหาผลประโยชน์กันเยอะ จนเราได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานศิลปะและวัฒนธรร ม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมในการประสานงาน จึงได้รับอนุญาตให้ทำโครงการนี้" นพดล ว่า

ด้าน รุจิรัตน์ ปะวันโน หรือ ครูเต๋า ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ บอกว่า ปกติที่โรงเรียนจะมีกลุ่มคนต่างๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะศิลปินดารา เมื่อมาแล้วก็มักจะมีการถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ซึ่งเด็กๆ บางคนอยากถ่ายภาพบ้าง สังเกตจากการขอลองจับกล้อง และสัมผัสอย่างนุ่มนวล

"พอบอกว่าจะมีคนเข้ามาสอนถ่ายภาพ เด็กๆ ตื่นเต้นกันมาก บอกว่า พวกเขาสามารถถ่ายภาพได้ด้วยเหรอ แม้เขาจะรู้จักกล้อง รู้จักวิวัฒนาการของมัน ใครมาเยี่ยมก็ขอจับกล้อง หรือเวลาครูบอกจะถ่ายภาพแล้วนะ พวกเขาก็จะยิ้ม แต่เขาไม่เคยคิดว่าจะได้ลงมือถ่ายภาพเองจริงๆ"


ความตื่นเต้นดีใจกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังจะได้รับ ทำให้เด็กผู้พิการทางสายตาพากันสมัครเข้าเรียนในหลัก สูตรนี้มากถึง 30 คน แต่ก็ติดปัญหาที่ว่าอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีจำกัด ทำให้ครูเต๋าจำเป็นต้องคัดเด็กที่ตาบอดสนิท 10 คน มาเรียนในหลักสูตรแรกก่อน

"หลักสูตรแรก 10 คน แล้วก็จะมีหลักสูตรที่ 2 ที่ 3 ตามมา เพราะเด็กๆ ที่สมัครอยากมาเรียนทุกคน ตอนนี้ก็ถามว่า เมื่อไรหนูจะได้เรียน" ครูเต๋า บอก



 

ถามนพดลว่า กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้น่าจะมีผู้สนับสนุนเป็นบริษั ทกล้องถ่ายภาพบ้าง เขาว่า ตอนแรกก็ตั้งใจจะขอสปอนเซอร์เหมือนกัน แต่ติดปัญหาตรงที่ประเทศไทยไม่เคยมีโครงการลักษณะนี้ มาก่อน อาจจะทำให้หลายฝ่ายนึกภาพไม่ออก

"อีกอย่างคือเราเองก็ไม่มั่นใจว่าทำโครงการนี้แล้วจะ ประสบความสำเร็จ มั้ย เลยต้องลงทุนกันเองก่อน ก็ลงทุนซื้อกล้องดิจิตัลมา 10 ตัว ประมาณ 35,000 บาท เราตัดสินใจว่า ถ้าสอนครบ 3 รุ่นแล้วได้รับการตอบรับที่ดี เด็กสามารถถ่ายรูปด้วยตัวเองได้ อุปกรณ์ทั้งหมดเราจะบริจาคให้ที่นี่พร้อมสมุดภาพซึ่ง จันทรเกษมจะเป็นคน เตรียมงบประมาณในการอัดรูป เพราะเราตั้งใจทำอัลบั้มภาพให้กับนักเรียนด้วย เป็นอัลบั้มขนาดเอ4 แต่เราจะปรินท์รูปแค่ 4x6 นิ้ว พื้นที่ที่เหลือจะใส่อักษรเบล เพื่อให้เขาสามารถจัดเรียงภาพของตัวเองได้"

สำหรับหลักสูตรการสอนคล้ายการถ่ายภาพของคนปกติทั่วไป เช่น ภาพบุคคล ภาพมาโคร ภาพวิวทิวทัศน์ ซึ่งเตรียมไว้ทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง แต่แค่ครั้งแรกเท่านั้นก็ทำให้ต้องปรับหลักสูตรกันยก ใหญ่ เพราะเด็กๆ ผู้พิการทางสายตาทุกคนเรียนรู้ค่อนข้างเร็ว

"วันแรกเราเตรียมสอนเรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนการ์ด ซึ่งกำหนดเนื้อหาตรงนี้ไว้ 1 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่า พอเริ่มเรียนเนื้อหาทุกคนแจ้งมาภายใน 15 นาที ว่า ทำเป็นหมดแล้ว ผมก็ถามว่า ทำยังไง เขาบอกทันทีที่รู้ว่าเปิดกล้องยังไง เด็กๆ จะสัมผัสแบตเตอรี่เลยว่าขั้วบวกขั้วลบอยู่ตรงไหน แล้วจึงเอาออก ไม่ใช่เปิดปุ๊บ เทแบตเตอรี่ออกเลย เขามีวิธีเรียนรู้ของเขาเอง ส่วนการ์ด เมื่อกดออกมาแล้วหน้าคอนแทคที่จะสัมผัสกับขั้วการบัน ทึกข้อมูลมันหันหน้าไป ทางไหน ปรากฏว่าทำได้ตั้งแต่ครั้งแรก ในขณะที่คนตาดีอย่างเราบางทีก็ใส่ไม่ถูกเพราะเราไม่จ ำ ถ้าใส่ไม่ถูกเดี๋ยวเราก็ใส่ใหม่ แต่นี่คือการเรียนรู้ของเขา" นพดล บอกอย่างอึ้งๆ








ถามครูอาสาอย่าง ชาย - ทนงศักดิ์ ธรรมวุฒิ ว่า การสอนคนตาบอดถ่ายภาพนั้น ยาก-ง่าย อย่างไร เขาสารภาพตรงๆ ว่า

"ใช้คำว่าสอนคงจะไม่ได้ เขาสอนเรามากกว่า จริงๆ นะ บางอย่างเขาแก้ได้แบบที่เราคิดไม่ถึง เช่น แก้ภาพเอียง เขาก็เอากล้องไปวัดกับคิ้ว หรือหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง ใช้คำว่า "เซอร์ไพรส์" ดีกว่า จนรู้สึกว่า สุดท้ายแล้วไอ้ที่คับแคบนั่นคือตัวเราเอง เราคิดว่ามันคงยาก มันคงเป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเขาโอเพ่นมาก เขาเปิดรับ คนตาบอดจริงๆ มันคือเรา เราไปวางความคิดว่าเขาต้องอย่างนี้ อย่างนั้น แต่จริงๆ ศักยภาพของเขาเยอะมาก...ตอนแรกเรากะมาให้ แต่สุดท้ายเราได้รับ ได้รับวิธีคิด มุมมอง หลายสิ่งหลายอย่างที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นไปได้"




เช่นเดียวกับน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ที่เพิ่งเข้ามาสังเกตการณ์วันแรกก็เล่นเอาบ่อน้ำตาเก ือบแตกเพราะความภาคภูมิ ใจ

"ไม่คิดว่าเขาจะถ่ายได้ แต่พอมาเห็นแล้วรู้สึกดี ภูมิใจว่าเขาถ่ายได้" อิง-เมทินี ศรีแก้ว ตัวแทนน้องๆ นักศึกษาทั้ง 5 คน บอก





เปลี่ยนบรรยากาศมานั่งคุยกับนักเรียนกันบ้าง คนแรกเป็นนักเรียนแสนซน น้องโอ๊ต-วันพระ อังศุนาถ อายุ 15 ปี ซึ่งมีบุคลิกส่วนตัวไม่เหมือนใคร ชอบปีนป่ายไปถ่ายภาพในมุมสูงทั้งๆ ที่ตาทั้ง 2 ข้างมองไม่เห็น หรือไม่ก็นั่งถ่ายภาพเสยขึ้นไป เป็นเทคนิคส่วนตัวที่ทำให้ครูผู้สอนอย่างครูชายอดอมย ิ้มไม่ได้


น้องโอ๊ตเล่าว่า เขาเคยมองเห็นโลกสีฟ้าใบนี้มาก่อน แต่ตอนอายุ 9 ขวบ ขณะเล่นฟุตบอลอยู่จู่ๆ เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าผ่านหน้าไป แสงในครั้งนั้นส่งผลให้การมองเห็นของเขาเลือนลาง และไร้การควบคุมในที่สุด

"ผมรู้สึกว่าตาบอดดีกว่าตาดี เพราะไม่ต้องเห็นอะไรที่มันไม่ดี อยู่แบบนี้สงบดี ไม่มีอะไรที่ทำให้เห็นแล้วต้องเครียด แต่ก็มีบางเรื่องเหมือนกัน อย่างเช่นอยากไปเที่ยวเอง ไปเห็นอะไรต่างๆ มันก็มีบ้าง แต่ผมว่าตาบอดดีกว่า"

หนุ่มวัย 15 คนนี้ บอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการถ่ายภาพของคนตาบอด คือการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหว เพราะเขาไม่สามารถมองเห็นว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด แต่เขาก็จะพยายามถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้ได้ เพื่อการพัฒนาเป็นช่างภาพตาบอดมืออาชีพในอนาคต




ส่วน น้องฝน-สุชานาถ มาลาทอง สาวน้อยวัย 12 ปี บอก ชอบกิจกรรมถ่ายภาพมาก และไม่คิดว่าตัวเองจะมีโอกาสจับกล้องแล้วลั่นชัตเตอร ์เอง






"อยากถ่ายรูปให้พ่อแม่ดู ให้รู้ว่าหนูทำได้ แต่ตอนนี้หนูยังไม่ได้บอกพวกเขาเลยว่าหนูเรียนถ่ายรู ปอยู่" (หัวเราะ)
นพ ดล บอกว่า อยากให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องที่ใครก็สามาร ถเข้ามาช่วยกันสานต่อ ได้ ส่วนการขยายผลคือ จะทำโปสการ์ดภาพถ่ายผลงานของนักเรียนผู้พิการทางสายต า เพื่อนำออกจำหน่าย ให้เขาได้ภาคภูมิใจในผลงานและรายได้ของตัวเอง

"เราวางแผนว่าอยากจัดนิทรรศการภาพถ่ายผลงานของผู้พิก ารทางสายตา ก็ถือโอกาสนี้เป็นการบอกกล่าวกับทาง หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเลยว่า เมื่อถึงเวลาจริงๆ แล้วเราอยากให้หอศิลปฯ ให้เวลาและสถานที่กับผลงานตรงนี้ เพราะเราอยากให้สังคมได้รับรู้ว่าผู้พิการทางสายตาเข ามีความสุข และความสามารถในแบบที่เราคาดไม่ถึง" นพดล ทิ้งท้าย


ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เซคชั่นจุดประกาย ฉบับวันที่ 2 ธนวาคม 2553

http://www.bangkokbiznews.com/home/d...5649/news.html








ผู้รับผิดชอบโครงการ  กลุ่มPict4all ( http://www.Pict4all.com - ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน )
ผู้สนับสนุนโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทร์เกษม  , Canon Marketing (Thailand) Co., Ltd. , TK Park อุทยานการเรียนรู้

                  


วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

นิทรรศการภาพถ่ายของคนตาบอดถวายในหลวง


" 84 ภาพ....ถ่ายด้วยหัวใจถวายในหลวง "



 นิทรรศการครั้งแรกในประเทศไทย ที่นักเรียนตาบอด จากโรงเรียนตาบอดในส่วนภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศไทย  6 โรงเรียน  นำผลงานของตนที่ถ่ายภาพด้วยหัวใจ ไม่ใช่ด้วยตา  ถวายให้กับในหลวงเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค. 2554

จาก...... โครงการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพ ของกลุ่มถ่ายภาพที่ใช้ชื่อว่า Pict4all  ที่ตั้งใจจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อใช้ความสามารถในการถ่ายภาพ สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ภายในปรัชญาของกลุ่มว่า " ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน "


   
Pict4All
ชุมชน ของผู้รักการถ่ายภาพ ในแนวทางของความเป็นจิตรศิลป์ มารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ ผู้ยากไร้ และผู้อยู่อาศัยในชนบทอันห่างไกล

กลุ่มคนภายใต้การนำทีมโดย 
นายนพดล ปัญญาวุฒิไกร หรือ ที่พี่น้องในกลุ่มเรียกขานว่า "คุณฉุน"  ได้ร่วมกันคิดโครงการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพ  จากแรงบันดาลใจของ อาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่ม คือ อาจารย์ธวัช มะลิลา   อดีตเลขาธิการสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ที่ปรารถนาจะเห็นการสอนให้กับผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพ ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการแบ่งปันความสุข ที่จะสร้างความภาคภูมิใจ การเห็นคุณค่าของตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสที่จะให้ผู้พิการทางสายตา ใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสังคม

นอกเหนือจากประโยชน์ที่นักเรียนผู้พิการทางสายตาดังกล่าวจะได้รับ ผู้เข้าร่วมโครงการก็เช่นกัน ที่จะมีความสุขและเห็นคุณค่าของการเป็นผู้ให้ ได้เรียนรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และจินตนาการของเด็กๆเหล่านี้ ส่วนสังคมนั้น โครงการนี้น่าจะเป็นการสะกิดให้กลับมาหวนคิดว่า


"ใน สังคมที่มีโอกาสอยู่มากมาย ที่ทุกคนจะได้ไขว่คว้า ได้รับประโยชน์ และแสวงหานั้น อย่าได้ปล่อยให้ผู้ด้อยโอกาส ต้องกลายเป็นผู้ไร้โอกาส เพราะ ผู้ด้อยโอกาสใช่ว่าต้องไร้โอกาส"








โครงการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพ  นอกจากทีมงานของกลุ่ม Pict4all ที่ประกอบด้วยบุคคลจากสาขาวิชาชีพต่างๆรวมตัวกันเนื่องจากมีใจรักในการถ่าย ภาพแล้ว  โครงการนี้ยังได้รับสนับสนุนจาก


  • มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ที่ได้สนับสนุนและให้โอกาสกับ Pict4All เข้าไปทำโครงการครั้งแรก  โดยทำการ เปิดสอนนักเรียนผู้พิการทางสายตา ของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพไปทั้งสิ้น 3 รุ่นๆละ 10 คน รวม 30 คน ผลที่ได้รับประสบความสำเร็จอย่างเกินความคาดหมาย 
  • ผศ.รุ่งทิพย์ พุ่มดนตรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ที่ให้ความกรุณาเป็นผู้ประสานงานติดต่อกับทางมูลนิธิ และสนับสนุนให้นักศึกษาของจันทรเกษม ได้เข้ามาเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมนี้ ตลอดจนสนับสนุนการพิมพ์ภาพเพื่อทำเป็นอัลบัมรูปถ่าย ให้กับนักเรียนผู้พิการทางสายตาทุกๆคน
  •  อ.ธวัช มะลิลา , อ.ธรชัย ศักดิ์มังกร และ อ.ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย อาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่ม ที่คอย ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจ























จากความสำเร็จในการสอนนักเรียนคนตาบอดในกรุงเทพฯ ที่สามารถถ่ายภาพได้  ทำให้ กลุ่มPict4all มีความคิดที่จะขยายการทำงานโครงการออกไปยังนักเรียนคนตาบอดในส่วนภูมิภาค  ซึ่งการทำโครงการในช่วงนี้ กลุ่มPict4all ได้มีผู้สนับสนุนโครงการเพิ่มขึ้นคือ
บริษัทแคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด โดยคุณ มาซาฮิโระ อูชิดะ ( Mr. Masahiro Uchida) Senior Director & GM Administration Group  ให้ การสนับสนุนกล้องถ่ายรูปแคนนอน  และเครื่องพิมพ์พร้อมกระดาษพิมพ์ภาพ มอบให้กับทุกโรงเรียนที่อยู่ในโครงการนี้ เพื่อให้นักเรียนใช้ในการฝึกหัดถ่ายภาพ

การสนับสนุนของแคนนอนในครั้งนี้ มีมูลค่ามากกว่า 150,000 บาท เพื่อให้นักเรียนตาบอดสามารถทำกิจกรรมการถ่ายภาพ เพื่อการสื่อสาร และเป็นการสร้างความมั่นใจ และเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น แต่ละโรงเรียนที่ทาง Pict4All เข้าไปสอนน้องตาบอดถ่ายภาพจะได้รับอุปกรณ์สนับสนุน ดังต่อไปนี้


1. กล้องดิจิตอล Power Shot รุ่น PS A 3200 จำนวน 3 ตัว

2. Printer Pixma รุ่น iP 4870 1 ตัว
3. หมึก 1 ชุด 
4. กระดาษพริ้นท์รูป 300 แผ่น


นอกจากนี้ยังได้ให้กล้องใหม่เอี่ยมจำนวน 12 ตัว (รุ่นเดียวกันกับที่บริจาค) เพื่อใช้ในการสอนเด็กๆนักเรียนตาบอดถ่ายภาพด้วย

















โรงเรียนสอนคนตาบอดในส่วนภูมิภาค ที่อยู่ในโครงการสอน 6 โรงเรียนดังนี้


  1. รร.สอนคนตาบอดสันติจินตนา อ.เด่นชัย จ.แพร่
  2. รร.สอนคนตาบอดเพชรบุรี อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
  3. รร. สอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จ.เชียงใหม่
  4. ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ จังหวัดหนองคาย
  5. รร.สอนคนตาบอดลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี
  6. รร.สอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี






































จากความสำเร็จในการสอนคนตาบอดให้สามารถถ่ายภาพได้  ทาง
บริษัทแคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด  และ อุทยานการเรียนรู้ TK park  ร่วมกับทีมนักถ่ายภาพจิตอาสา http://www.pict4all.com/  จึงได้ร่วมกัน จัดนิทรรศการและกิจกรรมในหัวข้อ "หัวใจถ่ายภาพ" ผลงานภาพถ่ายจากแรงบันดาลใจและ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่ผ่านการอบรมจากโครงการในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 โรงเรียน  จำนวน 73 คน  นำเสนอผลงานภาพถ่าย 84 ภาพ จากหัวใจถ่ายภาพถวายในหลวง เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค. 2554
  • ค่าใช้จ่ายในการจัดงานทั้งหมด  บริษัทแคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน และเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมดตลอดระยะเวลาการจัดงาน 
  • สถานที่จัดงาน อุทยานการเรียนรู้ TK park อนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ของ TK Park จัดแสดงนิทรรศการตลอดระยะเวลาการจัดงาน
  • ทีมงาน Pict4all  เป็นผู้พานักเรียนผู้พิการทางสายตา  ออกถ่ายภาพและคัดเลือกภาพเพื่อจัดนิทรรศการ

นิทรรศการจัดแสดง ณ อุทยานการเรียนรู้ TK park ชั้น 8 Dazzle Zone ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  ตั้งแต่วันที่ 20-30 ธันวาคม 2554 (ยกเว้นวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2554 )




รูปแบบการจัดนิทรรศการ  นอกจากการจัดแสดงภาพถ่ายของคนตาบอด " 84 ภาพ..... ถ่ายด้วยหัวใจถวายในหลวง"  แล้ว   ทางแคนนอนยังจัดทีมงาน ที่คอยอธิบายให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ทราบวิธีการเรียนการสอนคนตาบอดถ่ายภาพ และเชิญชวนให้ผู้เข้าชมนิทรรศการทดลองปิดตาเป็นคนตาบอด และ ถ่ายภาพด้วยวิธีการของคนตาบอด







ซึ่งทีมงานเหล่านี้ ได้รับการอบรมเทคนิคการสอนคนตาบอดให้ถ่ายภาพ จาก อ.ภูวพงษ์ ผจญอริพ่าย ที่ปรึกษาของกลุ่ม Pict4all  เพื่อให้ทีมงานมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง








นอกจากนี้ทางแคนนอน  ยังได้จัดทำโปสการ์ดภาพถ่ายที่จัดแสดงทั้งหมด 84 ภาพ ทำเป็นชุดโปสการ์ดจำหน่ายในงาน รายได้ทั้งหมดยกให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอดที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 6 โรงเรียน






พิธีเปิดงานนิทรรศการ













นักเรียนผู้พิการทางสายตา เจ้าของภาพ  ถ่ายภาพผู้เข้าชมงาน เป็นที่ระลึก











ผู้เข้าชมงานนิทรรศการ
















นักเรียนเจ้าของผลงาน  ชมผลงานตัวเองด้วยการสัมผัสอักษาเบลที่ปรุไว้ใต้ภาพ  และชื่นชมผลงานของเพื่อนด้วยกัน










เหล่าครูอาสา (บางส่วน) ทีมงาน Pict4all ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการสอนผู้พิการทางสายตาให้ถ่ายภาพ





























ผลงานของนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่จัดแสดง ( บางส่วน )







































84 Photographs Taken by Hearts for the King

 
Billed as Thailand's first photography exhibition by young blind photographers, Canon Thailand recently hosted a promising showcase, '84 Photographs Taken by Hearts for the King', at TK Park, CentralWorld, where the endeavours of a photography workshop for young blind students from all over the country were celebrated as an exhibition.
According to the organiser, the exhibition was held to pay tribute to His Majesty the King in celebration of his 84th birthday, and to show the world that the potential of visually-impaired children is no less than that of those with normal eyesight. The exhibition showcases the youth's feeling and love for the King through a collection of 84 special photographs which are also available for purchase.
Prior to the exhibition, 60 visually-impaired students ranging between primary to secondary level from six schools across the country joined 'Teaching Photography for the Blind 2011', a training project set up by a group of photography-loving volunteers named Pic4All. The six participating schools were the Santichintasana School for the Blind in Phrae, Thammik Wittaya School for the Blind in Phetchaburi, Northern School for the Blind under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen in Chiang Mai, Non-formal Education School in Nongkhai, School for the Blind and Disabled in Lop Buri and Redeemer School for the Blind in Pattaya.
Pic4All initiated a photography training project for blind students this year and taught them photographic theory as well as providing hands-on training. The students combined their newly acquired skills, creativity and determination to create unique and delighted snapshots.
"Many more skills are required for these children to learn how to snap a good photo. Being patient and determined are the keys. Moreover, they need to use mathematics to calculate their stepping backward and forward from a snapped model. For me, I want to see them living in a society with self-esteem and self-equal sentiment as other people," explained Puwapong Pajonariphai, a volunteer teacher from the Pic4All Group.
Their works have greatly encouraged Canon to provide further support and let them follow their dreams by organising a photography exhibition by blind children for the first time in Thailand.
"I am very glad when holding a camera and being able to take a picture although I can't see the ones I took. One of them I named 'Sacred Sculpture' since I have always prayed to the Buddha for the King's good health," said Kanusnan Ngernkam, a 12-year-old student from the Northern School for the Blind under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen in Chiang Mai
A special postcard collection of 84 photographs taken by the children is available for purchase. All proceeds will go to the schools participating in the project. Closed today the event will continue again from tomorrow and run until December 30.

รายละเอียด สามารถเข้าชมได้ที่


กลุ่มถ่ายภาพ Pict4all
http://www.pict4all.com

โครงการสอนนักเรียนผู้พิการทางสายตาถ่ายภาพ


อัลบัมภาพ ผลงานของนักเรียนผู้พิการทางสายตา


Photo album taken by Blind students of The Bangkok School for the Blind


คนตาบอดถ่ายรูปได้ ? (ตอน 1)

คนตาบอดถ่ายรูปได้ ? (ตอน 2)

มองมุมใหม่ ตอน หัวใจถ่ายภาพ 2(13 ก.พ. 54)

 Photography Course for the Visually Impaired Project

โลกมืดหลังเลนส์ อะไรก็เป็นไปได้

ปิดตาเปิดใจ สอนน้องถ่ายภาพ

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ  กลุ่มPict4all ( http://www.Pict4all.com - ภาพถ่ายเพื่อการแบ่งปัน )
ผู้สนับสนุนโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทร์เกษม  , Canon Marketing (Thailand) Co., Ltd. , TK Park อุทยานการเรียนรู้